16. ทำความรู้จักมาตรฐานน้ำดื่ม NSF และ WQA
NSF ย่อมาจาก National Science Foundation
WQA ย่อมาจาก Water Quality Association
ทั้งสองเป็นองค์กรหลักเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของน้ำดื่ม นอกเหนือจาก UL (Underwriters Laboratories) และ ANSI (American National Standards Institute) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับ NSF เพื่อพัฒนามาตรฐานน้ำดื่มให้ปลอดภัยสูงสุด
NSF หรือ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 2493 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและงานด้านการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มีการกำหนดมาตรฐานการทดสอบร่วมกับสถาบัน ANSI เช่น ANSI/NSF 42 ที่ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อลดระดับสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม เนื่องจากค่าปนเปื้อนในน้ำมีเพิ่มมากขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ การกำหนดมาตรฐานจึงต้องปรับปรุงตลอดเวลา NSF ให้การรับรองคุณภาพของน้ำโดยอ้างอิงมาตรฐานของ ANSI เป็นหลัก คณะกรรมการของ NSF ประกอบด้วยตัวแทนจากผู้ผลิต ผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันร่างกฎเกณฑ์และพัฒนาคุณภาพของน้ำ เป็นที่ยอมรับทั่วโลก เนื่องจากเป็นหน่วยงานอิสระที่เป็นกลาง
WQA หรือ สมาคมคุณภาพน้ำดื่ม เป็นหน่วยงานภาคเอกชน ใช้มาตรฐานที่กำหนดโดยผู้ผลิต ครอบคลุมมาตรฐานการทดสอบ การจำหน่ายและบริการ มีสมาชิกเป็นผู้ร่างระเบียบและกฎเกณฑ์ ให้การรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวกับการผลิต การติดตั้ง การขาย เป็นต้น ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภคและผู้ผลิต ตั้งมาตรฐานโกลด์ซีลให้กับผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดปริมาณสิ่งปนเปื้อน ใช้วัสดุที่มีความคงทนและปลอดภัย เป็นมาตรฐานความปลอดภัยกว้างๆ ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนและลงลึก
ความแตกต่างที่เด่นชัด คือ NSF ให้ความสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดและวัตถุดิบของวัสดุทุกชนิดที่สัมผัสกับน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่า ไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นพิษ
ส่วน WQA ไม่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนที่มีผลต่อสุขภาพ เนื่องจากไม่ได้กำหนดค่าสูงสุดของสิ่งปนเปื้อนในน้ำ หรือ Maximum Contamination Level (MCL) ในขณะที่ NSF ได้กำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับค่าสูงสุดของสิ่งปนเปื้อนในน้ำ หรือ Maximum Contamination Level (MCL)
นอกจากนี้ มาตรฐาน WQA S-300 ยังไม่ได้พูดถึงสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่เป็นสารโลหะหนัก สารเคมี และสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ในขณะที่ NSF กล่าวถึงในมาตรฐาน ANSI/NSF 58 เช่น แบเรียม แคดเมียม เฮกซ่าวาเลนท์โครเมียม ไตรวาเลนท์โครเมียม ทองแดง ฟลูออไรด์ ตะกั่ว ปรอท ไนเตรทผสมไนไทรท์ สิ่งปนเปิ้อนอินทรีย์ 39 ชนิด แร่เรเดียม เซเลเนียม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การรับรองของ NSF สามารถเลือกรับรองเฉพาะมาตรฐานหรือหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งตามต้องการได้ ดังน้ั้น ผู้บริโภคจะต้องเรียนรู้ให้ดีว่า ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง NSF นั้นได้รับการรับรองภายใต้หัวข้อใด เพราะมาตรฐานความปลอดภัยของแต่ละหัวข้อไม่เท่ากัน ตัวอย่างมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ครอบคลุมเรื่องสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย คือ ภายใต้หัวข้อ ANSI/NSF 42 หรือ 58 ส่วนในระบบอุตสาหกรรม NSF อาจรับรองเฉพาะจุด ไม่รับรองทั้งระบบก็ได้ ผู้บริโภคควรต้องตรวจสอบให้ดีว่าสถานที่ผลิตสินค้าได้รับการรับรองความปลอดภัยทั้งหมดหรือบางจุดเท่าน้ัน และภายใต้มาตรฐานใด
1. ความจำเป็นของเครื่องกรองน้ำ
2. ชนิดของเครื่องกรองน้ำ
3. ประโยชนฺ์ของไส้กรองชนิดต่างๆ
4. อายุการใช้งานของไส้กรอง
5. หลักการทำงานของไส้กรอง RO (Reverse Osmosis)
6. Chart การกรองสิ่งเจือปนชนิดต่างๆ
7. น้ำและประโยชน์ของน้ำ
8. คุณประโยชน์จากการดื่มน้ำ
9. ถังน้ำแบบใดใส่น้ำได้ปลอดภัย
10. การดื่มน้ำเพื่อรักษาสุขภาพ
11. ลักษณะของน้ำดื่มที่ดี
12. น้ำดื่มระบบ Reverse Osmosis(RO) เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่
13. วิธีเปลี่ยนถ่าน ปั้มจ่ายน้ำ Shurflo
14. น้ำด่าง หรือ น้ำอัลคาไลน์ (Alkaline Water) คืออะไร
15. ประโยชน์ของน้ำด่าง หรือ น้ำอัลคาไลน์ (Alkaline Water)
16. ทำความรู้จักมาตรฐานน้ำดื่ม NSF และ WQA
17. วิธีเปลี่ยนถ่าน เครื่องกรองน้ำ Cleansui รุ่น CB073
18. การใช้เครื่องกรองน้ำกับการช่วยลดโลกร้อน
|